หมีแพนด้า หรือที่รู้จักกันดีว่าฟอสซิลที่ยังมีชีวิต (Living Fossil) อีกหนึ่งในสัตว์ที่หายากที่สุดในโลก พี่เค้าไม่เพียงแค่ได้รับการยกย่องว่าเป็นแค่สมบัติประจำชาติของประเทศจีนเท่านั้นนะ ยังได้รับความรักและเอ็นดูจากคนจากทั่วทุกมุมโลกอีกด้วย *0* หากใครที่รักและอยากสัมผัสความน่ารักน่าฟัดของเจ้าแพนด้า ขอบอกว่าเฉิงตูเป็นตัวเลือกที่ถูกต้องนะคร๊าบบ>,<
ศูนย์อนุรักษ์หมีแพนด้าเฉิงตู (Chengdu Research base of Giant Panda Breeding)หรือ ฐานแพนด้าเฉิงตู (Chengdu Panda Base) จ้า เปิดให้เข้าชมตั้งแต่ปี ค.ศ.1993 รัฐบาลจีนลงทุนด้านการค้นคว้า วิจัย ผลิตภัณฑ์รักษาและปกป้องสัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธ์ุ โดยสร้างนิเวศน์วิทยาจำลองที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิตให้เจ้าแพนด้าน้อยใหญ่รวมถึงสัตว์ป่าหายากอื่นๆ เช่น หมีแพนด้าสีแดง (Red Panda) นกกะเรียนคอดำ (Black-Necked Crane) ตอนนี้เค้ามีแพนด้าขนาดใหญ่กว่า 100 ตัวเชียวนะ
พื้นที่สีเขียวที่นี่มีอัตราครอบคลุมราวๆ 96% โอ้โห!! นี่มันป่าขนาดย่อมๆ เลยนะคะ ดีงามมอ่ะ นอกจากนี้ยังมีตึกสำหรับการค้นคว้าวิจัยทางวิทยาศาสตร์ โรงพยาบาลสัตว์ บ้านสัตว์ ลานกิจกรรมสำหรับเหล่าแพนด้าอีกด้วย สุดยอดมั้ยล่า ยังไม่หมดๆ ยังมีพิพิธภัณฑ์แพนด้า ครัวแพนด้า และอีกมากมาย แต่ที่เด็ดสุดๆ คือมีพื้นที่โล่งขนาดใหญ่สำหรับแพนด้าไว้สำหรับเดินเล่น เที่ยวเตร่ตามอัธยาศัย กินอาหาร เล่น และเข้าสังคมกับเพื่อนๆ อีกด้วยนะจ๊ะ ไฮโซสุดๆ เลย แบบนี้ให้ สิบ สิบ สิบ ไปเลยจ้า น่าร๊ากกก
เครดิตภาพ: https://blooloop.com, https://asiatravelagency.info
เมื่อเข้ามาในพิพิธภัณฑ์แพนด้าแห่งแรกและแห่งเดียวของโลก ที่นี่มีห้องโถงขนาดใหญ่ 3 โถงได้แก่ โถงแพนด้า (Giant Panda Hall) โถงผีเสื้อ (Butterfly Hall) และโถงสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง (Vertebrate Hall) ซึ่งจะมีข้อมูลทั้งภาพ หุ่นจำลอง ฟอสซิล ตัวอย่าง รวมถึงการนำเสนอในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้ข้อมูลทุกอย่างที่เกี่ยวกับแพนด้าแก่ผู้เข้าชม มีการนำเสนอการอนุรักษ์ และช่วยเหลือในการปรับปรุงสายพันธ์ุหมีแพนด้าของพี่จีนอีกด้วยจ้า ไม่เท่านั้นนะที่นี่ยังรวบรวมหนังสือ และวรรณกรรมทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับแพนด้าทั้งหมด ซึ่งเขียนโดยนักเขียนจากทั่วโลกไว้ด้วย อู้หูววว ได้ใจหญิงปุ๊กไปเต็มๆ เล้ยย
ที่นี่เปิดบริการเวลา 7.30 น. – 18.00 น. เข้าชมโดยการเดินหรือนั่งรถชมก็ได้จ้า ถ้าจะมาดูตอนเค้าป้อนอาหารแพนด้าให้มาช่วง 09:00น. – 11:00น. แพนด้าเป็นสัตว์ขี้ร้อนค่ะ ช่วงกรกฏาคม-สิงหาคมจึงมักจะหลบเข้าไปเล่นในห้องปรับอากาศ ดังนั้นหากใครมาช่วงนี้อาจไม่ได้เห็นแพนด้ากลางแจ้งนะจ้ะ แต่ก็สามารถชมแพนด้าน้อยในห้องอนุบาลแทนได้