เมื่อเราพูดถึงแพนดานั้นเราจะนึกถึง เจ้าตัวอ้วนขนปุย หมีผู้มีสีขาวและสีดำเป็นเอกลักษณ์และยิ่งตรงตามันแล้วละก็ ถือว่าเป็นเอกลักษณ์เป็นที่สุด แล้วเรารู้ไหมว่าเจ้าแพนดาเนียเรานำเอามาในประเทศไทยได้อย่างไรแลับ้างที่เราอาจจะได้ยินข่าวหรือไปต่างประเทศแล้วเคยเห็นมัน นี่มันอยู่ทุดที่ทั่วโลกแล้วมันมาได้ยังงัยละ วันนี้เรามีคำตอบมาให้ท่านได้รู้กัน
จีนใช้แพนด้าในทางการทูตมาตั้งแต่สมัยบูเช็กเทียน (625-705) มีบันทึกว่าจีนในสมัยบูเช็กเทียนส่งแพนด้าคู่หนึ่งไปที่ญี่ปุ่น (Diana Usurelu, 2019) นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จีนส่งแพนด้าไปนานาประเทศอย่างต่อเนื่อง Diana Usurelu คอลัมนิสต์จากสื่อในเบอร์ลิน บรรยายว่า ตั้งแต่ 1958-1982 จีน “ส่งมอบ” แพนด้าในฐานะของขวัญให้ 9 ประเทศ บรรดาประเทศปลายทางล้วนปรากฏชื่อมหาอำนาจยักษ์ใหญ่แต่ละทวีป ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา, สหราชอาณาจักร, ฝรั่งเศส, รัสเซีย (สหภาพโซเวียต) และอีกหลายประเทศ จุดเริ่มต้นมาจากในปลายยุค 50s ซึ่งจีนส่งมอบแพนด้าให้กับสวนสัตว์มอสโคว์
จุดเปลี่ยนของการทูตมาอยู่ที่ปี 1972 เมื่อประธานาธิบดีริชาร์ด นิกซัน (Richard Nixon) เดินทางไปเยือนจีนหวังให้สัมพันธ์กับประเทศคอมมิวนิสต์ดำเนินไปอย่างราบรื่นขึ้น จีนตอบรับการเปิดประตูครั้งด้วยการส่งมอบแพนด้า 2 ตัวไปให้สวนสัตว์ในวอชิงตัน ดีซี ขณะที่สหรัฐฯ ส่งชะมดวัว (musk oxen) ไปตอบแทน อย่างไรก็ตาม ช่วงที่แพนด้าลดน้อยลงอย่างมากในปี 1982 จีนระงับส่งแพนด้าไปเป็นของขวัญแก่นานาประเทศ แต่เปลี่ยนนโยบายมาเป็นให้ “ยืม” แพนด้าเป็นระยะเวลา 10 ปี และมีการพิจารณาต่อสัญญากันเป็นวาระ
แต่นอกเหนือจากแพนด้า จีนยังใช้สัตว์ชนิดอื่นในทางการทูต อาทิ ปลา sturgeon, เต่ายักษ์ และม้า หากมองในภาพกว้างกว่านั้น รศ.วรศักดิ์ มหัทธโนบล กล่าวในการปาฐกถาเมื่อช่วงกลางเดือนกันยายนว่า หลังค.ศ. 2049/พ.ศ. 2592 จีนเล็งว่าจะมีอธิปไตยโดยสมบูรณ์ แม้ว่าในปัจจุบันจีนจะมีข้อพิพาทกับหลายพื้นที่ในเรื่องหมู่เกาะต่างๆ แต่หากวิเคราะห์ในช่วงที่ผ่านมา วิธีหนึ่งซึ่งจีนนิยมใช้คือ ซอฟท์ พาวเวอร์ (soft power) กับมิตรประเทศ