บ้านดินถู่โหลวหนานจิ้ง (Nanjing Tulou Hakka Houses) พบในบริเวณเทือกเขาทางตะวันตกเฉียงใต้ของมณฑลฝูเจี้ยน (Fujian Province) ติดกับทางกวางตง (Guangdong) บริเวณตอนใต้ของประเทศจีน ถู่โหลว (Tulou) หรืออาคารดินเป็นสถาปัตยกรรมแบบฮากกาที่มีเอกลักษณ์และมีเสน่ห์ดูลึกลับน่าค้นหา เป็นอาคารที่มักล้อมรอบด้วยกำแพงดินโครงร่างสี่เหลี่ยมหรือวงกลมหนาประมาณ 182 เซนติเมตร เป็นโครงสร้างไม้ สูง 3-5 ชั้น ปัจจุบันมีกว่า 80 ครอบครัว มีทางเข้าเพียงแค่ 1 ทาง โดยมีประตูทำจากไม้หนา 4-5 นิ้วเสริมด้วยแผ่นเหล็กด้านนอก ด้านบนสุดของถู่โหลวนี้ มีรูปืนเอาไว้ใช้เพื่อป้องกันการโจรกรรม ความมหัศจรรย์เกี่ยวกับถู่โหลวนี้คือบางส่วนของกำแพงดินที่ล้อมรอบอยู่มีอายุมากถึง 700 ปี! เรียกว่าอยู่รอดปลอดภัยผ่านภัยธรรมชาติรวมถึงแผ่นดินไหวกันมาล๊าววว ปัจจุบันมีถู่โหลวมากกว่า 20,000 หลังที่พบในทางใต้ของประเทศจีนเลยล่ะจร้า
ช่วงปลายรัชสมัยซ่ง (Song Dynasty) ชาวฮั่นเริ่มตั้งถิ่นฐานและสร้างถู่โหลว จนกลายมาเป็นสัญลักษณ์สามัญมากๆ ที่เจอได้ในหนานจิง ถู่โหลวในหนานจิงนั้นพบมากในเมืองซูหยาง (Shuyang) เหมยหลิน (Meilin) ฉวันฉ่าง (Chuangchang) หนานเคิง (Nankeng) คุ่ยหยาง (Kuiyang) และเห๋อซี (Hexi) ซึ่งเชื่อมต่อกันตลอดแม่น้ำจิ่วหลง (Jiulong River) มรดกถู่โหลวนี้แสดงถึงความเลอค่าทางศิลปะประเพณีด้านสถาปัตยกรรมแบบจีน นอกจากนี้ถู่โหลวในเมืองหนานจิง ยังถือเป็นแบบจำลองทางวัตถุในวัฒนธรรมเชิงอุดมคติแบบดั้งเดิมของอารยธรรมจีนอีกด้วยล่ะจ้า
เถียนหลัวเคิง (Tian Luo Keng) หรือหลุมหอยทาก ในเมืองซูหยาง เขตปกครองหนานจิง ประกอบไปด้วยอาคารดินแบบสี่เหลี่ยมอยู่ใจกลางล้อมรอบด้วยอาคารดินทรงกลม หรืออาคารดินทรงกลม 3 หลัง กับอีกหนึ่งอาคารดินรูปวงรี ที่มีชื่อว่า จานสี่ใบกับหนึ่งน้ำซุป (Four Dishes with a Soup)
จริงๆ แล้วคนที่อยู่อาศัยบริเวณนี้เป็นชาวฮากกา ส่วนใหญ่เป็นชาวนา ฐานะยากจน ส่วนคนรุ่นหนุ่มสาวก็มักจะออกจากเมืองไปหางานทำในเมืองใหญ่ คนฮากกาส่วนใหญ่เป็นคนใจดี อัธยาศัยน่าร๊อคคค หากใครวางแผนจะมาที่นี่ ก็มาได้ตลอดแต่ให้ดีก็ช่วงฤดูใบไม้ผลิ และฤดูใบไม้ร่วงจร้า ใครที่ชอบสถาปัตยกรรมแปลกตาไม่เหมือนที่ไหนในโลกต้องมาให้ได้นะจ๊ะ