จีนสั่งแบนการถ่ายทอดสดรางวัลออสการ์ 2 เหตุผลที่คาด

By | May 1, 2021

งานประกาศรางวัล ‘ออสการ์’  ที่ถูกจัดขึ้นเมื่อวันที่  26 เมษายนนี้ และในปีนี้นักวิเคราะห์ได้พูดไว้ว่าปีนี้กระแสไม่แรงเหมือนทุกๆปีที่ผ่านมา เพราะเรื่องจากแพร่ระบาดของโวิด-19 และส่วนหนึ่งที่ลดลงก็เพราะชาวจีนที่ ‘หายไป’ จากการที่รัฐบาลจีนออกคำสั่ง ‘แบน’ การถ่ายทอดงานประกาศผลออสการ์ในปีนี้

Bloomberg รายงานว่า ในวันที่ 16 มีนาคมที่ผ่านมา หรือหลังจากประกาศรายชื่อผู้เข้าชิงออสการ์เพียงหนึ่งวัน ทางการจีนได้ออกคำสั่งให้สื่อมวลชนในประเทศงดการถ่ายทอดสัญญาณพิธีแจกรางวัลออสการ์ รวมถึงลดความสำคัญของงานออสการ์ลงในการนำเสนอข่าว ซึ่งคำสั่งนี้ยังถูกส่งไปถึงที่ฮ่องกงด้วย ทำให้สถานี TVB ต้องงดการถ่ายทอดออสการ์เป็นครั้งแรกในรอบ 50 ปี
นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ทางการจีนประกาศเซนเซอร์สื่อแบบกะทันหันด้วยเหตุผลคลุมเครือ แต่เป็นเหตุการณ์ที่หลายคนคุ้นเคยกันดีจากกรณีที่มีหนังจำนวนหนึ่งถูกสั่ง ‘ห้ามฉาย’ ในประเทศและในเทศกาลหนังต่างประเทศ รวมถึงกรณีการสั่งแบนเวทีรางวัล ‘ม้าทองคำ’ ที่จัดขึ้นในไต้หวันที่มีความขัดแย้งระหว่างกันตลอดช่วง 3 ปีให้หลัง

1) Do Not Split หนังว่าด้วยการประท้วงในฮ่องกงที่เข้าชิงออสการ์ ‘หนังสารคดีขนาดสั้นยอดเยี่ยม’

Do Not Split เป็นหนังสารคดีความยาว 36 นาที ผลงานจาก Field of Vision บริษัทของผู้สร้างหนังสารคดีเจ้าของรางวัลออสการ์อย่าง Citizenfour (2014) และกำกับโดยคนทำหนังชาวนอร์เวย์ แอนเดอร์ส แฮมเมอร์ ซึ่งถ่ายทอดเรื่องราวการชุมนุมประท้วงในฮ่องกงตั้งแต่ปี 2019 ที่มีผู้ออกมาร่วมชุมนุมนับล้านคน จนถึงในปี 2020 ที่ม็อบเริ่มอ่อนแรงจากภาวะโรคระบาด, การออกกฎหมายความมั่นคงของชาติของจีน และการที่กลุ่มแอกติวิสต์และนักการเมืองฝ่ายประชาธิปไตยถูกจับเข้าคุก ซึ่งบางคนอาจโดนโทษถึงขั้นจำคุกตลอดชีวิต

2) Nomadland หนังที่ส่งให้ โคลอี เจา ผู้กำกับเชื้อสายจีนเข้าชิงออสการ์ ‘ผู้กำกับยอดเยี่ยม’

Nomadland เป็นหนังดราม่าที่เล่าถึงกลุ่มคนที่ใช้ชีวิตเร่ร่อนในอเมริกาซึ่งมีมากขึ้นเป็นพิเศษหลังวิกฤติเศรษฐกิจปี 2008 ได้อย่างลุ่มลึก จนได้รับคำชมและกวาดรางวัลจากเวทีต่างๆ มามากมาย ถือเป็นตัวเก็งสำหรับรางวัลใหญ่ๆ บนเวทีออสการ์ปีนี้ ซึ่งถ้าหนังสามารถคว้ารางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยมไปครองได้ (กล่าวกันว่ามีโอกาสสูงมาก) ก็จะทำให้ โคลอี เจา หรือ เจาถิง สร้างสถิติเป็น ‘ผู้หญิงคนที่สอง’ ที่คว้ารางวัลนี้ (คนแรกคือ แคธรีน บิเกโลว์ จาก The Hurt Locker ในปี 2010) รวมถึงเป็น ‘ผู้หญิงเอเชียคนแรก’ ที่สามารถทำได้อีกด้วย